วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

โครงการฝนหลวง


โครงการฝนหลวง


ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."


โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหา
ขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง
ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ
จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร
ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่า
จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ
ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว
ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน
จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้งๆ
ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์
ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า
ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทย
ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปี
ของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา
และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน
และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้นในปีถัดมา และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการ
ในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล
พระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ
และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง
(dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว
เข้าไปในยอดเมฆสูง ไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่
ู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้นทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้น
มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน
เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ
1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศ
และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน
ดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
________________________________________


วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการก่อตั้งโครงการหลวงจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่ว่า

"… เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่งสามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนจากเมฆอุ่น ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"





เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป


ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน"


เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลาย


ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี"


เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)

การวิจัยและพัฒนาการทำฝนจากเมฆเย็น



เนื่องจากการวิจัยพัฒนาและปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นเท่านั้น เนื่องจากเครื่องบินที่ได้รับจัดสรรให้ใช้เป็นเครื่องบินที่ไม่มีระบบปรับความดันอากาศ ไม่ปลอดภัยที่จะบินขึ้นสูงกว่าระดับ 10,000 ฟุต แต่ในการปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นนั้น ยอดเมฆสามารถเจริญขึ้นถึง 25,000 ฟุต หรือกว่านั้น ฉะนั้น กลุ่มเมฆนั้นจึงเป็นเมฆผสม (Mixed Cloud) ของเมฆอุ่น (Warm Cloud) และเมฆเย็น (Cool Cloud) ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับฐานเมฆจนถึงประมาณ 18,000 ฟุต เป็นส่วนของเมฆอุ่น (Warm Cloud) มีอุณหภูมิในเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป มีอุณหภูมิในเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสเป็นส่วนของเมฆเย็น (Cool Cloud)
ได้พระราชทานแนวคิดแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เมื่อ พ.ศ. 2515 ให้หาลู่ทางวิจัยและประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินแบบที่ไม่มีระบบปรับความดันต่อจากระดับบิน 10,000 ฟุต ให้สูงเข้าไปในส่วนของเมฆเย็นดังกล่าว ให้เกิดฝนตกจากเมฆเย็นลงมาสมทบกับเมฆอุ่นเพื่อให้ปริมาณน้ำฝนในก้อนเมฆนั้นเพิ่มมากขึ้น ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบกเริ่มลงมือทำการวิจัยประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินและจรวดจากทางพื้นดิน แต่หยุดกิจกรรมนี้เมื่อ พ.ศ.2516 เนื่องจากฝ่ายกรมสรรพาวุธทหารบกติดภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ

จรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ


สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงในขณะนั้นได้พยายามสานต่อพระราชดำรินี้ โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสภาวิจัยแห่งชาติ จัดตั้งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดฝนเทียมทำการวิจัยและประดิษฐ์จรวดต้นแบบขึ้นมาทำการยิงทดสอบและพัฒนาเพื่อให้สามารถยิงสารเคมีเข้าไประเบิดในเมฆที่ทั้งระดับเมฆอุ่นและเมฆเย็น ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา การวิจัยและพัฒนาจรวดได้ก้าวหน้ามาตามลำดับจนถึงปี 2530 สามารถบรรจุสารเคมียิงเข้าไประเบิดในเมฆอุ่นที่ระดับสูงเกินกว่าฐานเมฆได้ผลพอที่จะนำเข้าใช้ในปฏิบัติการจริงได้แล้ว และกำลังพัฒนาขีดความสามารถให้เข้าไประเบิดที่ระดับสูงเกิน 10,000 ฟุตขึ้นไปจนถึงระดับเมฆเย็น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โครงการดำเนินการไปอย่างก้าวหน้าได้ระงับไปแล้วในปัจจุบัน

เครื่องบินเช่าแอโรคอมมานเดอร์ เป็นเครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ในระยะแรกเริ่มการทดลองทำฝนจากเมฆเย็น

เครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ (Beechcraft King air ; B-350) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมิได้หยุดยั้งในการค้นหาลู่ทางที่จะดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆเย็น จนกระทั่งในปี 2531 ได้เกิดโครงการวิจัย ทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลไทย ทำการศึกษา วิจัย และทดลองโดยการยิงสารเคมีซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) จากเครื่องบินปรับความดันอากาศสามารถบินขึ้นได้สูงถึง 35,000 ฟุตเข้าไปกระตุ้นกลไกการเปลี่ยนสถานะของเหลว (เย็นจัด) ของหยดน้ำ (Cloud droplets) ให้เป็นผลึกน้ำแข็ง (ice crystals) ร่วงหล่นลงมาละลายสมทบกับหยดน้ำในเมฆอุ่นเกิดเป็นฝนตกปริมาณหนาแน่นยิ่งขึ้นในช่วงแรกตั้งแต่ 2531-2534 เป็นการเตรียมและพัฒนาโครงการ จนพร้อมทำการปฏิบัติการทดลองในปี 2534-2537 จากการวิเคราะห์ ผลการปฏิบัติการทดลองเบื้องต้น สามารถเพิ่มปริมาณ น้ำฝนได้สูงกว่าธรรมชาติถึง 125% เพิ่มพื้นที่รองรับฝนที่ตกได้ถึง 71% และทำให้ฝนตกยาวนานขึ้น 33%อย่างไรก็ดีการวิจัยและพัฒนายังคงดำเนินการต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2542 เพื่อให้สามารถยืนยันผลในทางสถิติได้แน่นอนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำเข้าสู่การปฏิบัติการหวังผลต่อไป
อย่างไรก็ดี พระราชดำริดังกล่าวได้บรรลุผลสมพระราชประสงค์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว


เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น
4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่
ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไป
จากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลัก อยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวง จากเครื่องบิน เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถ ปฏิบัติการตามขั้นตอน กรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและทดลองกรรมวิธี การทำฝน เพื่อการพัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่นการทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มี การเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้อง หยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธทหารบกจนถึงพ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และพัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง และตรวจสอบผลในเชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้
อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตาม กล่าวคือ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

ตำราฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ภาพ "ตำราฝนหลวง" ด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอน และกรรมวิธีการดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็น และพระราชทานแก่ นักวิชาการฝนหลวง ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542




แถวบนสุด (แถวแรก) ของตำราฝนหลวงพระราชทาน
ช่องที่ 1. "นางมณีเมฆขลา"
• เป็นเครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ของโครงการ
• เป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แห่งเขาไกรลาศ หรือเขาพระสุเมรุ วิเทศะสันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล
ช่องที่ 2. "พระอินทร์ทรงเกวียน"
• พระอินทร์เป็นพระสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดา ที่ทรงมาช่วยทำฝน
ช่องที่ 3. "21 มกราคม 2542"
• เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเส้นทางพระราชดำเนินกลับ ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่น่าจะทำฝนได้ทรงบันทึกภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมา และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติการกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคเหนือตอนล่าง โดยเร่งด่วน
ช่องที่ 4. "เครื่องบิน 3 เครื่อง"
เป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตามตำราฝนหลวงพระราชทานตามขั้นตอนที่ 1 - 6 ประกอบด้วย
1. เครื่องบินเมฆเย็น (BEECHCRAFT KING AIR)
2. เครื่องบินเมฆอุ่น (CASA)
3. เครื่องบินเมฆอุ่น (CARAVAN)



แถวที่ 1 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 1

เป็นการเร่งให้เกิดเมฆโดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง โปรย สารเคมีผงเกลือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในขณะที่ท้องฟ้าโปร่งหรือมีเมฆเดิมก่อตัว อยู่บ้าง ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei เรียกย่อว่า CCN) ความชื้นหรือไอน้ำจะถูกดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือแล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆ ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเจริญขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่ อาจก่อยอดถึงระดับ 10,000 ฟุต ได้

แถวที่ 2 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 2
เป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเมฆที่ก่อขึ้นหรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และก่อยอดขึ้นถึงระดับ 10,000 ฟุต ฐานเมฆสูงไม่เกิน 7,000 ฟุต ใช้เครื่องบินแบบเมฆอุ่นอีกหนึ่งเครื่อง โปรยสารเคมีผงแคลเซี่ยมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต (หรือสูงกว่าฐานเมฆ 1,000 ฟุต) ทำให้เกิดความร้อนอันเนื่องมาจากการคายความร้อนแฝง จากการกลั่นตัวรอบ CCN รวมกับความร้อน ที่เกิดจากปฏิกิริยาของไอน้ำกับสารเคมี CaCl2 โดยตรง และพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะเร่งหรือเสริมแรงยกตัวของมวลอากาศภายในเมฆยกตัวขึ้นและเร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำและการรวมตัวกัน ของเม็ดน้ำภายในเมฆ ทวีความหนาแน่นจนขนาดของเมฆใหญ่ก่อยอดขึ้นถึงระดับ 15,000 ฟุต ได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งยังเป็นส่วนของเมฆอุ่น จนถึงระดับนี้ การยกตัวขึ้นลงของมวลอากาศ การกลั่น และการรวมตัวของเม็ดน้ำยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่แต่บางครั้งอาจมีแรงยกตัวเหลือพอที่ยอดเมฆพัฒนาขึ้นถึงระดับ 20,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับเมฆเย็น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป (อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส)

แถวที่ 3 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 3
เป็นการเร่งหรือบังคับให้เกิดฝนเมื่อเมฆอุ่นเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่ม แก่ตัวจัด ฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต และเคลื่อนตัวใกล้เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ทำการบังคับให้ฝนตกโดยใช้เทคนิคการโจมตี แบบ Sandwich โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ทับยอดเมฆหรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือไม่เกิน 10,000 ฟุต ทางด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่ง โปรยผงยูเรีย (Urea) ที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลม ให้แนวโปรยทั้งสองทำมุมเยื้องกัน 45 องศา (ดังในแผนภาพ) เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาดใหญ่และปริมาณมากขึ้น ตกลงสู่ฐานเมฆทำให้ฐานเมฆหนาแน่นจนฝน ใกล้ตกเป็นฝนหรือเริ่มตกเป็นฝนแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน หรือตกถึงพื้นดินแต่ปริมาณยังเบาบาง

แถวที่ 4 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 4

เป็นการเสริมการโจมตีเพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้สูงขึ้นเมื่อกลุ่มเมฆฝนตามขั้นตอนที่ 3 ยังไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่เป้าหมายทำการเสริมการโจมตีเมฆอุ่นด้วยสารเคมีสูตรเย็นจัด คือ น้ำแข็งแห้ง (Dry ice) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับ -78 องศาเซลเซียส ที่ใต้ฐานเมฆ 1,000 ฟุต จะทำให้อุณหภูมิของมวลอากาศ ใต้ฐานเมฆลดต่ำลง และความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ปริมาณฝนตกหนาแน่น ยิ่งขึ้น และชักนำให้กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้แน่นอนและเร็วยิ่งขึ้น (หากกลุ่มเมฆฝนปกคลุม ภูเขาก็จะเป็นวิธีชักนำให้กลุ่มฝนพ้นจากบริเวณภูเขาเข้าสู่พื้นที่ราบ)

แถวที่ 5 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 5

เป็นการโจมตีเมฆเย็นด้วย Agl ขณะที่เมฆพัฒนายอดสูงขึ้นในขั้นที่ 2 ถึงระดับเมฆเย็น และมีแค่เครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว ทำการโจมตีเมฆเย็น โดยการยิงพลุสารเคมีซิลเวอร์ ไอโอไดด์ (AgI) ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระดับ -8 ถึง -12 องศาเซลเซียส มีกระแส มวลอากาศลอยขึ้นกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ต่ำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสมที่จะทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำเย็นยิ่งยวด (Super cooled vapour) มาเกาะตัวรอบแกน Agl กลายเป็น ผลึกน้ำแข็งได้ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ไอน้ำที่แปรสภาพเป็นผลึกน้ำแข็งจะทวีขนาดใหญ่ขึ้นจนร่วงหล่นลงมา และละลายเป็นเม็ดน้ำเมื่อเข้าสู่ระดับเมฆอุ่น และจะทำให้ไอน้ำและเม็ดน้ำในเมฆอุ่นเข้ามาเกาะรวมตัวกันเป็นเม็ดใหญ่ขึ้น ทะลุฐานเมฆเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน

แถวที่ 6 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 6
เป็นการโจมตีแบบ SUPER SANDWICH จะทำได้ต่อเมื่อมีเครื่องบินปฏิบัติการทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นสามารถใช้ปฏิบัติการได้ครบ ขณะที่ทำการโจมตีเมฆอุ่นตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ทำการโจมตีเมฆเย็นตามขั้นตอนที่ 5 ควบคู่ไปในขณะเดียวกัน เครื่องบินเมฆอุ่นอีกเครื่องหนึ่งโปรยสารเคมีผงโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆจะทำให้ฝนตกหนักและต่อเนื่องนานให้ปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการประสานประสิทธิภาพของการโจมตีเมฆอุ่นในขั้นตอนที่ 3 และ 4 และโจมตีเมฆเย็นในขั้นตอนที่ 5 ควบคู่กันไปในระดับเดียวกัน
เทคนิคการโจมตีนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า SUPER SANDWICH เป็นเทคนิคที่ทรงคิดค้นขึ้นมาปฏิบัติการในประเทศไทยเป็นประเทศแรก ยังไม่มีประเทศใดในโลกเคยถือปฏิบัติมาก่อนอย่างแน่นอน

แถวล่างสุด (แถวสุดท้ายของตำราฝนหลวงพระราชทาน)
ช่องที่ 1. "แห่นางแมว" (CAT PROCESSION)
• เป็นการรวมผลหรือประชาสัมพันธ์ (บำรุงขวัญ)
• แมวเกลียดน้ำ (The cat hates water)
• เป็นพิธีกรรมขอฝนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล
• เป็นพิธีกรรมด้านจิตวิทยา เมื่อฝนแล้งเกิดความเดือดร้อน ปั่นป่วน วุ่นวาย จึงต้องมีจิตวิทยา บำรุงขวัญให้ประชาชน และเจ้าหน้ามีกำลังใจ
ช่องที่ 2. "เครื่องบินทำฝน"
• เครื่องบินปฏิบัติการ (เป็นพาหะในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวง)
• เครื่องบินต้องกล้าบินเข้าเมฆฝน เพื่อสำรวจและติดตามผล
• นักบินและนักวิชาการฝนหลวงต้องร่วมมือกัน (The pilot and the rainmakers must cooperate)
ช่องที่ 3. "กบ"
• เลือกนาย หรือขอฝน และเลือกฝน กบร้องแทนอุตุนิยม
• ถ้าไม่มีความชื้นกบเดือดร้อนและกบเตือนให้มีความพยายาม มิฉะนั้นกบตาย ไม่มีฝนเกษตรกรตาย
• ท่านต้องจูบกบหลายตัว ก่อนที่จะพบเจ้าชายเพียงหนึ่งองค์ (You have kiss to a lot of frogs before you meet a prince) หมายความว่า ต้องมีความพยายามทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดฝนได้สักครั้ง
ช่องที่ 4. "บ้องไฟ"
• แทนเครื่องบิน (ทำหน้าที่เสมือนเครื่องบินที่เป็นพาหะนำเทคโนโลยีฝนหลวงขึ้นไปประยุกต์ในท้องฟ้า
• เป็นประเพณีเรียกฝน ไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นของจริง ทำฝนด้วยการยิงบ้องไฟ บ้องไฟขึ้นสูงปล่อยควันเป็นแกน ความชื้นเข้ามาเกาะแกนควัน ทำให้เกิดเมฆเกิดฝน บ้องไฟจึงเป็นพิธีการอย่างหนึ่ง เป็นวิทยาศาสตร์


กลุ่มลุ่มรับน้ำ
กลุ่มลุ่มรับน้ำ คือ การแบ่งพื้นที่การปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละพื้นทีของประเทศ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่
คลิกที่แผนที่เพื่อดูเขตพื้นที่รับผิดชอบปฏิบัติการฝนหลวง

กลุ่มลุ่มรับน้ำภาคเหนือ
พื้นที่ความรับผิดชอบ
ประกอบด้วย 7 ลุ่มรับน้ำหลักได้แก่
1.ลุ่มน้ำปิง 2.ลุ่มน้ำวัง 3.ลุ่มน้ำยม 4.ลุ่มน้ำน่าน 5.ลุ่มน้ำสาละวิน 6.ลุ่มน้ำกก 7.ลุ่มน้ำโขง
ประกอบด้วย เขื่อน 5 เขื่อน
1.เขื่อนภูมิพล 2.เขื่อนสิริกิติ์ 3.เขื่อนแม่งัด 4.เขื่อนแม่กวง 5.เขื่อนกิ่วลม
ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่
1.ชียงใหม่ 2.ลำพูน 3.ลำปาง 4.แม่ฮ่องสอน 5.เชียงราย 6.น่าน 7.แพร่ 8.พะเยา
9.อุตรดิตถ์ 10.ตาก 11.สุโขทัย
** ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ19,681,520 ไร่
พื้นที่ป่าไม้ ได้แก่
1.ป่าแจ้ซ้อน 2.ดอยขุนตาล 3.ดอยภูคา 4.ดอยสุเทพ-ปุย 5.ดอยอินทนนท์ 6.เวียงโกศัย
** ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 42,563,180 ไร่

กลุ่มลุ่มรับน้ำภาคกลาง

พื้นที่ความรับผิดชอบ
ประกอบด้วย 5 ลุ่มรับน้ำหลักได้แก่
1.ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2.ลุ่มน้ำสะแกกรัง 3.ลุ่มน้ำแม่กลอง 4.ลุ่มน้ำท่าจีน 5.ลุ่มน้ำป่าสัก
เขื่อน 5เขื่อน
1.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 2. เขื่อนศรีนครินทร์ 3.เขื่อนเขาแหลม 4.เขื่อนกระเสียว 5.เขื่อนทับเสลา
ครอบคลุมพื้นที่22 จังหวัด
1.พิษณุโลก 2.กำแพงเพชร 3.พิจิตร 4.เพชรบูรณ์ 5.นครสวรรค์ 6.ชัยนาท 7.อุทัยธานี
8.สิงห์บุรี 9.อ่างทอง 10.ลพบุรี 11.สระบุรี 12.อยุธยา 13.กาญจนบุรี 14.สุพรรณบุรี
15.ราชบุรี 16.นครปฐม 17.ปทุมธานี 18.นนทบุรี 19.กรุงเทพฯ 20.สมุทรสาคร
21.สมุทรปราการ 22.สมุทรสงคราม
** ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ 24,854,160 ไร่
พื้นที่ป่าไม้ ได้แก่
1.คลองลาน 2.แม่วงก์ 3.พระพุทธฉาย 4.เอราวัณ 5.ห้วยขาแข้ง
** ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 11,952,346 ไร่

กลุ่มลุ่มรับน้ำภาคตะวันออก
พื้นที่ความรับผิดชอบ
ประกอบด้วย 4 ลุ่มรับน้ำหลักได้แก่
1.ลุ่มน้ำปราจีน 2.ลุ่มน้ำโตนเลสาบ 3.ลุ่มน้ำบางประกง 4.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำ 5อ่าง
1.อ่างเก็บน้ำบางพระ 2.อ่างเก็บน้ำดอกกราย 3.อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 4.อ่างเก็บน้ำมาบประชัน
5.อ่างเก็บน้ำคลองค้อ
ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด
1.ปราจีนบุรี 2.สระแก้ว 3.นครานยก 4.ฉะเชิงเทรา 5.ระยอง
6.ชลบุรี 7.จันทบุรี 8.ตราด
** ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ 10,006,453 ไร่
พื้นที่ป่าไม้ ได้แก่
1.เขาชะเมา-เขาวง 2.เขาคิชฌกูฎ 3.เขาสอยดาว
** ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 4,443,253 ไร่


กลุ่มลุ่มรับน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

พื้นที่ความรับผิดชอบ
ประกอบด้วย 2 ลุ่มรับน้ำหลักได้แก่
1.ลุ่มน้ำชี 2.ลุ่มน้ำโขง
ประกอบด้วยเขื่อน 6 เขื่อน
1.เขื่อนอุบลรัตน์ 2.เขื่อนจุฬาภรณ์ 3.เขื่อนลำปาว 4.เขื่อนน้ำอูน 5.เขื่อนห้วยหลวง 6.เขื่อนน้ำพุง
ครอบคลุมพื้นที่12จังหวัด
1.ขอนแก่น 2.ชัยภูมิ 3.ร้อยเอ็ด 4.มหาสารคาม 5.กาฬสินธุ์ 6.เลย 7.หนองคาย 8.นครพนม
9.สกลนคร 10.หนองบัวลำภู 11.อุดรธานี 12.มุกดาหาร
** ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ 30,051,474 ไร่
พื้นที่ป่าไม้ ได้แก่
1.ป่าพูพาน 2.ภูลังกา 3.ภูกระดึง 4.ภูเรือ 5.ภูผาม่าน 6.ภูเวียง
** ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 6,790,446 ไร่

กลุ่มลุ่มรับน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
พื้นที่ความรับผิดชอบ
ลุ่มรับน้ำหลักได้แก่
ลุ่มน้ำมูล
ประกอบด้วยเขื่อน 7 เขื่อน
1.เขื่อนลำตะคอง 2.เขื่อนลำพระเพลิง 3.เขื่อนสิรินธร 4.เขื่อนลำนางรอง 5.เขื่อนมูลบน
6.เขื่อนลำแซะ 7.เขื่อนลำปลายมาศ
ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด
1.นครราชสีมา 2.บุรีรัมย์ 3.สุรินทร์ 4.ศรีสะเกษ 5.ยโสธร 6.อำนาจเจริญ
7.อุบลราชธานี
** ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ 27,808,699 ไร่
พื้นที่ป่าไม้ ได้แก่
1.ป่าเขาใหญ่ 2.ทับลาน 3.ภูสระดอกแก้ว 4.ภูจอง-นายยอย
** ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 6,499,791 ไร่


กลุ่มลุ่มรับน้าภาคใต้

พื้นที่ความรับผิดชอบ
ประกอบด้วย 7 ลุ่มรับน้ำหลักได้แก่
1.ลุ่มน้ำเพชรบุรี 2.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 3.ลุ่มน้ำตาปี 4.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้
5.ลุ่มน้ำปัตตานี 6.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 7.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย
ประกอบด้วยเขื่อน 4 เขื่อน
1.เขื่อนแก่งกระจาน 2.เขื่อนปราณบุรี 3.เขื่อนรัชชประภา 4.เขื่อนบางลาง
ครอบคลุมพื้นที่16จังหวัด
1.เพชรบุรี 2.ประจวบคีรีขันธ์ 3.ชุมพร 4.ระนอง 5.สุราษฎร์ธานี 6.พังงา 7.ภูเก็ต 8.กระบี่
9.นครศรีธรรมราช 10.ตรัง 11.พัทลุง 12.สตูล 13.สงขลา 14.ปัตตานี 15.ยะลา 16.นราธิวาส
** ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ 20,077,282 ไร่
พื้นที่ป่าไม้ ได้แก่
1.ป่ากุยบุรี 2.แก่งกระจาน 3.แก่งกรุง 4.บางลาง 5.บูโด-สุไหงปาดี
** ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 9,928,983 ไร่

เครื่องบินฝนหลวง เครื่องบินที่ใช้ปฏบัติการฝนหลวงในปัจุบัน












สารเคมีฝนหลวง

สารเคมีในการปฏิบัติการทำฝนในประเทศไทย
สารเคมีที่ใช้ทำฝนหลวงในัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ชนิด บางชนิดมีคุณมบัติดูดซับความชื้นได้ดี(hygroscopic substances) บางชนิดมีคุณมบัติเป็นแกนกลั่นตัว(CCN)ของความชื้นในบรรยากาศ บางชนิดสามารถคายความร้อนออกมาเพื่อกระตุ้น หรือ เสริมการก่อตัวและ เจริญเติบโตของเมฆ บางชนิดสามารถดูดดึงความร้อนทำให้อุณหภูมิของอากาศหรือเมฆเย็นตัวลง เร่งการกลั่นตัวของไอน้ำและเสริมความหนาแน่น ของเมฆจนเกิดเป็นฝน การเลือกใช้สารเคมีแต่ละชนิด จึงพิจารณาคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นกับสภาวะของเมฆหรือบรรยากาศในแต่ละวันเป็นสำคัญ สารเคมีที่ใช้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเท คือ
สารเคมีสูตรร้อน
สารเคมีสูตรร้อนมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำะทำใหอุณหภูมิสูงขึ้น ใช้ในสภาพผงละเอียด สารเคมีสูตรร้อนที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ 1.สูตร6 แคลเซียมคลอไรด์(Calcium Chloride)
2.สูตร8 แคลเซียมอ๊ออกไซด์(Calcium Oxide)
สารเคมีสูตรเย็น
สารเคมีสูตรเย็นมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเย็นลง สารเคมีสูตรเย็นที่ ใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิด คือ
1.สูตร4 ยูเรีย (Urea)
2.สูตร19 แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate)
3.สูตร 3 น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice)
สารเคมีสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ
สารเคมีสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ มีคุณสมบัติเป็นแกนดูดซับความชื้นให้เข้ามาเกาะและกลั่นตัว กลายเป็นเม็ดน้ำจำนวนมาก สารเคมีสูตรแกนกลั่นตัวที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
1.สูตร1 เกลือแป้ง (Sodium Chloride)
2.สารเคมีสูตรฝนหลวง ท1

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำฝน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฝนหลวง
ระยะเวลาของการปฏิบัติการฝนหลวง
1.ช่วงเดือนตุลาคม(เป็นแผนสำรองน้ำในช่วงปลายฤดูฝน)
เฝ้าติดตามศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนตลอดช่วงฤดูฝน โดยเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เมื่อกลางเดือนสิงหาคมของปี ถ้าปริมาณน้ำเก็บกักของเขื่อนใดมีปริมาณน้อย คือต่ำกว่า 60%ของปริมาณ เก็บกักสูงสุดแล้ว ให้เน้นปฏิบัติการฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำของเขื่อนนั้นๆ ทันทีและต่อเนื่อง และต้องปฏิบัติการฝนหลวงต่อไปจนกว่าปริมาณเก็บกักในอ่างเก็บกักจะได้ 80% ของปริมาณเก็บกักสูงสุด จึงจะยุติการทำฝนหลวงในฤดูนั้นๆหรือจนกว่าสภาพอากาศจะไม่เอื้ออำนวย ให้ทำฝนได้จึงยุติการทำฝนปีนั้นๆ
2.ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน(แผนเฝ้าระวัง,ช่วงชิงสภาพอากาศและแก้วิกฤติภัยแล้ง)
เป็นกานเฝ้าติดตามศึกษาและวิเคราะห์สภาพอากาศโดยใกล้ชิด เพื่อหาโอกาสของการทำฝน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าและควบคุมไฟป่าไม่ให้ลุกลามขยายพื้นที่หรือความรุนแรงออกไป
2)ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรต่างๆโดยเฉพาะพืชฤดูแล้ง
3)เพิ่มเติมน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำต่างๆและชลอการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆให้น้อยลง เพื่อรักษาน้ำต้นทุนในอ่างไว้
3.ช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน(เป็นแผนการปฏิบัติการในช่วงฤดูฝน)
เป็นการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยพื้นที่การเกษตรต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาฝนทิ้งช่วงและเพิ่มน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำต่างๆ













ไม่มีความคิดเห็น: